วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

          
                               
                                                                     
 ทรัพยากรดิน 

     คือวัตถุธรรมชาติที่พืชขึ้นได้ซึ่งปกคลุมผิวโลกโดยวางตัวอยู่บนหินแข็ง ดินเกิดจากการสลายตัว
ของหินและการเน่าเปื่อยของซากอินทรียวัตถุ
ลักษณะดินในประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน ดังนี้
1. บริเวณที่เป็นที่ราบนําท่วมถึงของสองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งมีโคลนตะกอนทับถมกันทุกปี จะมีดินตะกอนที่ยังมีอายุน้อย ลักษณะของดินมักเป็นดินเหนียวยังไม่มีการชะล้างแร่ธาตุในดินมากนัก ดินค่อนข้าง
อุดมสมบูรณ์ บางแห่งอาจมีดินเป็นกรดสูงหรือเป็นดินเปรี้ยว ดินบริเวณนี้เหมาะสำหรับการทำนา
2. บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำมาก มีน้ำท่วมขัง และมีซากของพืชที่ทับถมกันเป็นชั้นหนา จะมีดินที่มี
อินทรีย์วัตถุปะปรอยู่มาก ใช้ประโยชน์ได้น้อยเช่น บริเวณชายฝั้งจังหวัดนราธิวาส บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
3.บริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล มีเนินทราย หรือหาดทรายจะมีดินเป็นทรายจัด ดินชนิดนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์มาก ใช้เพาะปลูกไม่ได้เช่น ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสงขลา
4.บริเวณลานตะพักลำน้ำ จะอยู่ห่างจากสองฝั่งของแม่น้ำออกไป ดินถูกชะล้างแร่ธาตุจึงลดความอุดมสมบูรณ์ลงมักเป็นดินเหนียว บริเวณนี้ถ้ามีอายุมากขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ก็ลดลงตามลำดับ
5.บริเวณภูเขาที่ไม่สูงชันมาก จะมีป่าไม้ปกคลุมตามธรรมชาติ ดินจะมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีอินทรีย์วัตถุในดินมาก ถ้านำดินในภูมิประเทศนี้มาใช้ในการเพาะปลูก จะลดความอุดมสมบูรณ์ลง
อย่างมากเพราะมีการชะล้าง และพังทลายสูงเมื่อไม่มีพืชปกคลุมดิน
6.บริเวณที่มีดินประเภทด่าง เช่น หินปูน ปูนมาร์ล หินบะซอลท์ เมื่อสลายเกิดเป็นดินจะให้ดินที่มี
ความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น สระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี เหมาะในการปลูกพืชไร่ ส่วนหินประเภทกรด ได้แก่ หินทราย หินแกรนิต  

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรดินในประเทศไทย มี2อย่าง คือ

ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติได้แก่
1.ปัญหาการชะล้างของแร่ธาติในดิน
2.ปัญหาการสึกกร่อนพังทลายของดิน

ปัญหาที่เกิดจาการกระทำของมนุษย์ได้แก่
1.ปัญหาการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำซาก
2.ปัญหาการปลูกพืชโดยไม่บำรุงดิน
3.ปัญหาการทำลายป่าเพื่อการเกษตร
4.ปัญหารการเผาป่าหรือไร่นา

                           

การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน หมายถึง การใช้ดินอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการสึกกร่อน พังทลาย
และสามารถใช้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและนานที่สุด ได้แก่
1.การปลุกพืชหมุนเวียน ในเขตที่มีการชลประทานดี
2.การปลูกพืชเป็นขั้นบันได บริเวณเชิงเขาที่มีพื้นที่ลาดชันน้อย
3.การปลูกป่าบริเวณลาดชันมากไม่เหมาะต่อการกสิกรรม
ข้อควรจำ
ภาคที่มีการชลประทานดี คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคเหนือและภาคกลาง






              
               

ทรัพยากรธรรมชาติแร่ธาตุ


ทรัพยากรแร่ หมายถึง แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในหินเปลือกโลก ทั้งบนบกและใต้ทะเล ซึ่งมนุษย์สามารถขุดนำมาใช้ประโยชน์
แหล่งกำเนิดแร่มาจาก
1.หินอัคนีเย็นตัวลง มักพบบริเวณภูเขาที่มีหินอัคนีแทรกอยู่
2.การผุพังของหินอัคนี
3.หินแปร(เกิดจากหินชั้นหรือหินอัคนีเปลี่ยนสภาพไป เพระาถูกความร้อนหรือความกดดันสูง)
4.หินชั้น เกิดจากการทับถมของสารแร่บางอย่าง หรือการตกตะกอน
 ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง บริเวณทิวเขาภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ ซึ่งมีหินแกรนิต แทรกตัวอยู่ในชั้นหิน จะมีแร่ดีบุกเป้นจำนวนมาก

         

การอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ได้แก่
1.ใช้วิธีขุดแร่ที่มีประสิทธิภาพ
2.ชะลอการขุดค้นแร่มาใช้ประโยชน์
3.ใช้แร่อย่างประหยัด
4.ลดการส่งแร่ไปจำหน่ายต่างประเทศในสภาพล้นแร่
ข้อควรจำ เหมืองแร่ในประเทศไทยที่เคยออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือ
1.ลิกไนส์(อ.ปูดำ จ.กระบี่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน)
2.หินน้ำมัน(อ.แม่สอด จ.ตาก)
3.แร่เกลือหิน-โพแทช มีมากในภาคอีสาน
4.แร่รัตนชาติ มีมากในภาคตะวันออกและภาคตะวันตก
5.ดีบุก มีมากที่จ.พังงา

        

       
ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้

 


ป่าไม้ในประเทศไทย
แบ่งออกกเป็น2ประเภท คือ
1.ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  2.ป่าไม้ผลัดใบ
คำว่า "ป่าไม้" หมายความว่าอะไร  
 คำว่า "ป่าไม้"นี้มีความหมายของคำว่า "ป่าไม้" นี้มีความหมายที่แตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย
ตอนปลายศตวรรษที่ 13 ในยุโรป "ป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ที่พระมหากษัตริย์ได้สงวนไว้เพื่อใช้เป็น
สถานที่สำหรับล่าสัตว์ของ ส่วนพระองค์ ส่วนสิทธิในการตัดไม้และการก่นสร้างแผ้วถางป่าเพื่อการ
เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ยังเป็นของประชาชนทั่ว ๆ ไปอยู่
     ปัจจุบันองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามคำว่า "ป่าไม้" หมายถึง
"บรรดาพื้นที่ที่มีพฤกษชาตินานาชนิดปกคลุมอยู่โดยมีไม้ต้นขนาดต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
โดยไม่คำนึงว่าจะมีการทำ ไม้ในพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม สามารถผลิตไม้หรือมีอิทธิพลต่อลมฟ้า
อากาศ หรือต่อระบบของน้ำในท้องถิ่น" นอกจากนี้พื้นที่ที่ได้ถูกตัดฟัน หรือแผ้วถางหรือโค่นเผาไม้ลง และมีเป้าหมายที่จะปลูกป่าขึ้นในอนาคต ก็นับ รวมเป็นพื้นที่ป่าไม้ด้วย แต่ทั้งนี้มิได้นับเอาป่าละเมาะ หรือหมู่ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่นอกป่า หรือต้นไม้สองข้างทางคมนาคม หรือที่ยืนต้นอยู่ตามหัวไร่ปลายนา หรือที่ขึ้นอยู่ในสวนสาธารณะ ให้เป็นป่าไม้ด้วย

ประเภทของป่าไม้มีอะไรบ้าง  

ป่าไม้ในภาคต่าง ๆ ของโลกพอจะจำแนกออกได้ตามความแตกต่างขององค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น และประวัติความเป็นมาแต่ดั้งเดิมของแต่ละภาคเป็นประเภทใหญ่ๆ รวม 6 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภท ก็มีขึ้นอยู่ในหลายท้องที่ กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป ลักษณะและชนิดของพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ก็แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
๑. ป่าไม้สนในเขตหนาว (Cool coniferus forests) ขึ้นอยู่ทางซีกโลกเหนือ
ในท้องที่ที่มีอากาศหนาวเท่านั้นมีลักษณะเป็นแถบกว้างแผ่กระจายอยู่ทางตอนเหนือของทวีป
อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ตั้งแต่อะแลสกาแค นาดา แถบกลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวียไปจน
ถึงไซบีเรีย เนื้อที่ป่าส่วนใหญ่อยู่ในไซบีเรีย ป่าชนิดนี้มีไม้เนื้ออ่อนหรือไม้ในตระกูลสนเขา(conifer) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น แต่ละท้องที่มีพรรณไม้เพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งเป็น ต้นไม้ที่มีขนาดปานกลางและมี
ความเติบโตไล่เลี่ยกัน
๒. ป่าไม้ผสมโซนอบอุ่น (Temperate mixed forests) ขึ้นอยู่ทางตอนกลางของซีกโลกเหนือเกือบทั้งหมด คือในยุโรปตอนกลาง อเมริกาเหนือ และเอเชียพรรณไม้ในป่าชนิดนี้มีมากกว่า ป่าสนในเขตหนาว มีทั้งป่าไม้เนื้ออ่อน (soft wood) ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลไม้สนเขา
และป่าไม้เนื้อแข็ง
๓. ป่าชื้นในโซนอบอุ่น (Warm temperate moist forests) ขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบโซนอบอุ่นทั้งทางซีกโลกเหนือและใต้ ในอเมริกาเหนือมีอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อเมริกาใต้ นิวซีแลนด์ ชาวฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียทางตอน
ใต้ของญี่ปุ่นและเกาหลีและตอนกลางของแผ่นดินใหญ่จีน พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สนชนิดต่าง ๆ
ไม้โอ๊ก และยูคาลิปตัสของออสเตรเลีย
๔. ป่าดงดิบแถบศูนย์สูตร (Equatorial rain forests) ขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบโซนร้อนที่มีฝนตกชุก
เกือบตลอดปี เป็นป่าไม้เนื้อแข็งที่มีพรรณไม้ขึ้นปะปนกันอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะและ
ขนาดต่าง ๆ กัน ป่าชนิดนี้มีอยู่ในย่านลาตินอเมริกา แอฟริกา และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
๕. ป่าผสมชื้นแถบโซนร้อน (Tropical moist deciduous forests) ขึ้นอยู่ในแถบโซนร้อนที่มีฤดูแล้งเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน เช่น ในตอนใต้ของอเมริกาเหนือและแอฟริกา
ย่านลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๖. ป่าแล้ง (Dry forests) ขึ้นอยู่ในทุกภาคของโลกที่มีความแห้งจัด แต่ส่วนมากแล้วขึ้นอยู่ทางแถบโซนร้อน พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่เป็นไม้ขนาดเล็ก เตี้ย แคระแกร็น และปะปนกัน
มากมายหลายชนิด แต่มีปริมาตรเนื้อไม้ต่อหน่วยเนื้อที่น้อยมาก ป่าส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา
และออสเตรเลีย  

 


ป่าไม้ผลัดใบได้แก่

1.ป่าเบญจพรรณ พบมากในภาคเหนือและภาคกลาง ไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ประดู่ แดง ตะแบก เสลา
มะค่า โมง มะเกลือ เป็นป่าเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก
2.ป่าแดงหรือป่าโคก หรือเต็งรัง ปรากฎในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์พบอยู่ในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ

 img1.gif
ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ได้แก่

1.ป่าดงดิบ พบในบริเวณที่ฝนตกชุก ไม่มีฤดูแล้ง ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ได้แก่ ยาง ตะเคียน กะบาก และพันธุ์ไม้เล็กๆเช่น ไผ่เถาวัลย์ ระกำ เป้นต้น ป่าดงดิบมีมากในภาคใต้และภาค
ตะวันออก  
2.ป่าดิบเขา มีลักษระคล้ายป่าดงดิบ แต่มีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่น้อยมาก ได้แก่ไม้สกุลตอ และมีพืช
ประเภทมอส เฟิน กล้วยไม้ เกาะติดอยู่ มีประโยชน์ในด้านรักษาต้นน้ำลำธาร ป่าดิบเขา ปรากฏตามทิวเขาที่มีความสูงตั้งแต่1000เมตรขึ้นไป
3.ป่าสนเขา พบบริเวณที่มีพิ้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ700เมตรขึ้นไป เช่นเชียง
ใหม่และภูกระดึง
4.ป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็ม เช่น โกงกาง แสมทะเล ปรง พบได้บริเวณต้นอ่าวไทย และชายฝั่ง
ของภาคตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่เพชรบุรีไปถึงนราธิวาส กับทะเลอันดามันตั้งแต่
ระนองถึงสตูล ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด 
 


ความสำคัญของป่าไม้

1.สำคัญต่อระบบนิเวศวิทยา ป่าไม้ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  เป็นต้น
2.สำคัญด้านเศรษฐกิจ        ป่าไม้ให้ผลผลิตที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อย่างมากมาย
3.สำคัญด้านนันทนาการ      ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ
วิทยา
ภาคที่มีป่าไม้หนาแน่นมากเรียงตามลำดับ คือ
1.ภาคเหนือ
2.ภาคตะวันตก
3.ภาคตะวันออก
4.ภาคใต้
5.ภาคกลาง
6.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



วิธีการแก้ไขปัญหาป่าไม้ด้วยการปลูกป่าคืออะไร  

 นอกจากนี้กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้บริษัททำไม้จังหวัด ฯลฯ ได้ปลูกสวนป่าตั้งแต่ต้นจนถึงปี 2526 ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ โครงการป่าชุมชนที่ส่งเสริมให้ราษฎรและชาวไร่ปลูกป่าในที่รก
ร้างว่าเปล่าหรือที่หัว ไร่ปลายนา เมื่อดำเนินการเต็มรูปแล้วปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ ไม้ฟืนและ
ไม้ใช้สอยก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ อย่างไรก็ดี การที่จะป้องกันรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรม
ชาติล้ำค่าของเรานั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยราชการและประชาชนทุกฝ่าย
มิฉะนั้น ป่าไม้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยอย่างไม่มีปัญหา การให้การศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรม
ชาติที่มีค่า ทุกประเภท โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการศึกษานับตั้งแต่ชั้นประถมขึ้นไปจน ถึงระดับมหาวิทยาลัย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสไปเห็นหรือสัมผัสของจริงหรือ
ฝึกงานในภูมิประเทศจึงจะเกิดความประทับใจขึ้นอย่างจริงจัง สื่อมวลชนอันได้แก่หนังสือพิมพ์
วิทยุกระจาย เสียง และวิทยุ โทรทัศน์นับว่ามีบทบาทสำคัญมากที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและให้ความร่วมมือกับรัฐในการอนุรักษ์ยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากมาตรการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่กระทรวงต่าง ๆ ถือปฏิบัติอยู่ให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจะสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายจะเปิดที่ป่าไม้เพื่อให้ราษฎรทำกิน
กระทรวงคมนาคม ตัดเส้นทางผ่านป่าไม้ที่สมบูรณ์ โดยมิได้วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำให้ป่าไม้สองข้างทาง คมนาคมถูกบุกรุกทำลายอย่างรุนแรงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก กระทรวงอุตสาหกรรม อนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ
จากพืชผลทางการเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โดยมิ ได้ประสานงานกับ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าที่สมบูรณ์จึงถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยเป็น
จำนวนมาก

 




 


ทรัพยากรน้ำ

โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%)
และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์
เราด้วย
น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่า
อากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่
พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอด
เวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
1)ประเภทของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำจืดที่มนุษย์นำมาใช้แบ่งออกเป็น 2ประเภทใหญ่ๆ คือ น้ำบนดิน
และน้ำใต้ดิน
1.น้ำบนผิวดิน คือ น้ำในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำบนผิวดินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 4ประการ
ก. ปริมาณน้ำฝนที่ได้รับ
ข.อัตราการสูญเสียของน้ำของน้ำเนื่องจากการะเหยและการคายน้ำของพืช
ค.ความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้บนพื้นผิวดิน
ง.ปริมาณน้ำทีได้รับเพิ่มเติมจากที่อื่น
2.น้ำใต้ดิน หมายถึง น้ำที่ซึมอยู่ใต้ดิน หรือรวมตัวกันอยู่ในแหล่งเก็บกักน้ำใต้ดิน เช่น น้ำบ่อ
น้ำบาดาล ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำใต้ดินจะมีมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ
ก.ปริมาณน้ำที่ไหลลงไปจากพื้นดิน
ข.ความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ในชั้นหินใต้ดิน

ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ น้ำนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการ
และถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตที่จะขาดเสียมิได้ ในด้นความสำคัญของน้ำอาจสรุปได้ป็น
5ประการ คือ
1.น้ำมีความสำคัยต่อเกษตรกรรม ทั้งในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2.น้ำมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรม และการผลิตพลังงาน เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
3.น้ำมีความต่อการคมนาคมขนส่งทางเรือ
4.น้ำมีความสำคัญต่อการบริโภคใช้สอยของมนุษย์โดยตรง


ปัญหาของทรัพยากรน้ำ
ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ
1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให
้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่
น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง
น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม
และอุตสาหกรรม

 

ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ

น้ำนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการ
และถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตที่จะขาดเสียมิได้ ในด้นความสำคัญของน้ำอาจสรุปได้ป็น
5ประการ คือ
1.น้ำมีความสำคัยต่อเกษตรกรรม ทั้งในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2.น้ำมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรม และการผลิตพลังงาน เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
3.น้ำมีความต่อการคมนาคมขนส่งทางเรือ
4.น้ำมีความสำคัญต่อการบริโภคใช้สอยของมนุษย์โดยตรง

 

การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่สำคัญๆมีดังต่อไปนี้
1.การพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ การขุดลอกหนองคลองบึง และแม่น้ำที่ตื้นเขิน เพื่อให้สามารถกักเก็บ
น้ำได้มากขึ้น ตลอดจนการสร้างเขื่อนและอ่างกักเก็บน้ำ
2.การใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ปล่อยให้น้ำสูญเสียไปโดยปล่าวประโยชน์ และสามารถนำน้ำที่ใช้แล้ว
กลับมาหมุนเวียนใช้ได้ใหม่อีก
3.การควบคุมรักษาต้นน้ำลำธาร ไม่มีการอนุญาติให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่าอย่างเด็ดขาด
4.ควบคุมมิให้เกิดมลพิษแก่แหล่งน้ำ มีการดูแลควบคุมมิใหเมีการปล่อยสิ่งสกปรกลงไปในแหล่งน้ำ




            

           



หมดแล้ว !

 ขอบคุณที่มาชม